หลักสูตรการเรียนการสอนของสาธิตพีไอเอ็ม
สาธิตพีไอเอ็ม ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) หรือ “หลักสูตรไทย” ที่ดำเนินการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ “Active Learning” และประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดทักษะ (Skill) ที่นำไปใช้ได้จริง โดยมีการประยุกต์รูปแบบการเรียนการสอนสไตล์ Finland มาปรับใช้ในโรงเรียนอีกด้วย
จุดยืนชัดเจนของสาธิตพีไอเอ็ม
“การจัดการเรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติ และประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดทักษะ(skill) ที่นำไปใช้ได้จริง”
SATIT PIM offers 21st century education throughout a Finish well-known “Active Learning” pedagogy and is a Thai model secondary school using a standard Thai curriculum provided by The Ministry of Education, Thailand.
ระดับมัธยมต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3)
Junior High School (Matthayom 1 – 3)
เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่มีคุณภาพจึงจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ใน 3 รายวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ
Language is a tool which we provide our students to learn Thai, English and Chinese both with Thai and native speaking teachers. However, to be having only academic knowledge in each subject is still not enough nowadays, we also provide our students to learn “GO” a Chinese strategy board game applying life skills thoroughly. Though, the 3 main subjects are conducted in English including Mathematics, Science (Physics, Chemistry, Biology) and English. Every student are equally required to learn such subjects in order to prepare the learners to be Thai citizens and world citizens with quality.
ระดับมัธยมปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)
Senior High School (Matthayom 4 – 6)
สาธิตพีไอเอ็ม แบ่งสายการเรียน สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้;
1. สายวิทย์-คณิต Mathematics – Science Program
– Health Science
– Architectural Engineering and Robotics & Artificial Intelligence (A.I.)
2. สายศิลป์คำนวณ Mathematics – English Program
3. สายศิลป์ภาษา Lauguage Arts & Digital Media Program
– English
– Chinese
– Business Management
นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอน
ด้วยการประสานงานจากผู้เชี่ยวชาญใน 3 กลุ่ม ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือเน้นให้นักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ครูและโรงเรียนเป็น Facilitator คือ ทำหน้าอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนผ่านประสบการณ์จริง และจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพตามความถนัดของตัวเอง มากกว่าการเรียนแบบท่องจำเพื่อสอบ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสในการค้นหาความถนัด และมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ระยะยาว เพราะผู้เรียนมองเห็นประโยชน์และเป้าหมายในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมฝึกทักษะที่หลากหลายภายนอกห้องเรียน เช่น ความอดทน การเรียนรู้จากความพ่ายแพ้ การรอคอย ภาวะผู้นำ เป็นต้น ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากครูผู้สอนและชำนาญการในแต่ละหัวข้อของการเรียน